ในการขายออนไลน์ ทำเว็บให้ดี สำคัญมากกว่าสินค้า

0
6566

เว็บไซต์คอมเมอร์เชียลทั้งหลายมักให้ความสำคัญกับตัวสินค้า และยึดเป็นตัวหลักเกินไป ซึ่งอันที่จริงก็ไม่ผิด ถ้าคุณต้องการทำเพื่อให้แน่ใจว่าคนที่เข้ามาเข้าใจถึงสิ่งที่คุณขายและทำไมพวกเขาควรอยากได้สินค้าเหล่านี้ แต่ก็มีอีกหลายเว็บที่เจ้าของทำพลาดไป พวกเขาโชว์สินค้าแต่กลับละเลยสารสำคัญที่เป็นรายละเอียดว่าทำไมลูกค้าจึงควรซื้อสินค้าพวกนั้น สินค้าถูกวางไว้อย่างสวยงามแต่กลับไม่มีคำอธิบายอะไรเลย

ในความจริงแล้ว คุณจำเป็นต้องลงรายละเอียดให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ คุณอาจได้ยินคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญสอนมาว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตนั้นไม่ชอบจดจ่ออยู่กับอะไรนานๆ ไม่ชอบอ่านอะไรเยอะๆ ให้เขียนสั้นๆ กระชับไว้ดีที่สุด แต่ที่จริงแล้วทฤษฎีนี้มันไร้ประโยชน์มากๆ ถ้าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นแบบนั้นจริง พวกเขาคงไม่ใช้เวลาสิบนาทีนั่งดูวิดีโอเพื่อเก็บข้อมูลต่างๆ ที่สามารถอ่านได้ภายใน 30 วินาทีหรือน้อยกว่านั้น ดังนั้นอย่าไปยึดติดกับคำแนะนำผิดๆว่าผู้ใช้นั้นไม่ชอบข้อมูลหรือรายละเอียดเยอะๆ เพราะพวกเขาต้องการมัน ถ้าจะมีสิ่งที่พวกเขาจะติเตียนก็คงเป็นว่าเว็บของคุณไม่ได้ลงรายละเอียดที่จะสามารถตอบคำถามของพวกเขาได้อย่างครบถ้วน ซึ่งสิ่งนี้เองที่จะมีผลกระทบต่อยอดขายของคุณ

และการใช้ทริคเก่าๆ อย่างการเก็บราคาไว้ ไม่โชว์ให้เห็น หรือไม่โชว์ข้อมูลสำคัญให้รู้หมด แบบนั้นไม่เวิร์คจริงๆ เพราะความจริงคือมันไม่มีการที่ข้อมูลเยอะเกินไป มันมีแต่การที่คุณไม่ให้ข้อมูลได้เพียงพอต่างหาก และมันก็เป็นการทำธุรกิจที่ไม่ดี เพราะมันจะทำให้ลูกค้าที่มีกำลังซื้อเหล่านั้นหนีหายไป หรืออาจไปสนใจแบรนด์คู่แข่งของคุณแทน

แทนที่โฟกัสไปที่สินค้าเพียงอย่างเดียว แต่เว็บของคุณควรทำให้ลูกค้าหันมาโฟกัสมากกว่า คุณควรทำให้แน่ใจได้ว่าเว็บของคุณนั้นมีการใช้งานง่าย สะดวก เมื่อลูกค้าเข้ามาแล้วไม่ต้องมาปวดหัวกับฟีเจอร์ยากๆ หรือข้อมูลที่หาไม่เจอคำตอบ สิ่งที่คุณสามารถทำได้มีเยอะมาก เช่น

  1. คิดไว้ช่วงหน้าเลยว่าจะมีคำถามอะไรที่ลูกค้ามักอยากรู้เกี่ยวกับสินค้าของคุณ
  2. ลงรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าของคุณให้มากที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้
  3. เรื่องราคาควรให้เป็นสิ่งที่เห็นได้ทันที ตรงไปตรงมา
  4. ทำให้ลูกค้าแน่ใจถึงความปลอดภัยของเว็บคุณ และเกิดความเชื่อใจในเว็บของคุณ
  5. ทำระบบในเว็บไซต์ให้ง่ายต่อการซื้อ
  6. ใส่ใจในคุณภาพของบริการหลังการขาย

เราลองมาดูรายละเอียดลึกลงไปอีก

1. คิดไว้ช่วงหน้าเลยว่าจะมีคำถามอะไรที่ลูกค้ามักอยากรู้เกี่ยวกับสินค้าของคุณ

ไม่ได้หมายความว่าให้ทำ FAQ อยู่ตลอด (ซึ่ง FAQ ก็เป็นไอเดียที่ดี) แต่คุณอาจตั้งคำถามคำตอบหลักๆ เกี่ยวกับสินค้าหรือระบบในเว็บไซต์โดยตรง ลองคิดดูว่าสิ่งที่ลูกค้าอาจสงสัย หรือมีการตั้งคำถามแน่นอน สิ่งนั้นคืออะไร ความกังลใจที่ลูกค้าอาจมีนั้นคืออะไร แล้วคุณก็แค่ลงคำตอบดีๆ ไว้ให้ลูกค้าก่อนเลยโดยที่ไม่ต้องมาถามกันทีหลัง

2. ลงรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าของคุณให้มากที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้

การลงรายละเอียดน้อยเกินไปเป็นความผิดพลาดของผู้ที่เป็นมือสมัครเล่น มันสามารถทำให้ลูกค้าหงุดหงิด ไม่ว่าจะด้วยทริคในการซ่อนราคาแล้วให้ลูกค้าถามมาเองหรือข้อมูลอย่างอื่นก็ตาม มันใช้ไม่ได้กับการขายระยะยาว ซึ่งการขายอย่างตรงไปตรงมา และเรียบง่ายนั้นดีที่สุดแล้ว เพราะลูกค้ามักอยากรู้ข้อมูลของสิ่งที่เข้าอยากได้ให้ได้มากที่สุดก่อนซื้อ พวกเขาจะไม่มีทางว่าว่าคุณลงข้อมูลเยอะเกินไปแต่ในทางกลับกันพวกเขาอาจว่าได้ว่าคุณลงรายละเอียดไม่ดีพอ ทำให้พวกเขาต้องสงสัยและถามทีหลัง ซึ่งส่วนมากที่ลูกค้าไม่ซื้อกับคุณ พวกเขาก็มักไม่บอกเหตุผลว่าทำไม บ่อยครั้งที่พวกเขาก็ไม่รู้ว่าทำไมจึงทิ้งแบรนด์ของคุณไป แต่เหตุผลอาจเป็นเพราะคุณทิ้งพวกเขาไปก่อนด้วยคำถามที่ไม่ได้คำตอบ พวกเขาจึงไม่ตัดสินใจที่จะซื้อโดยทันที และเมื่อลูกค้าปิดเว็บของคุณไปหนึ่งครั้งแล้ว มันก็อาจเป็นครั้งสุดท้ายที่พวกเขาจะเข้ามาได้…

3. เรื่องราคาควรให้เป็นสิ่งที่เห็นได้ทันที ตรงไปตรงมา

การไม่ลงราคาสินค้าให้เห็นอย่างชัดเจนเป็นทริคที่ไร้ประโยชน์ ลูกค้าทั่วโลกไม่มีใครชอบทฤษฎีการขายแบบนี้ และมันอาจทำให้พวกเขาคิดว่าราคาของคุณนั้นสูงเกินไปกว่าคุณภาพที่มี ไม่อย่างนั้นทำไมคุณจึงต้องลังเลที่จะลงราคามาหรือปิดมันไว้ ซึ่งลูกค้าส่วนน้อยที่ไม่แคร์ อาจเป็นกลุ่มที่ไม่สนใจว่าสินค้านั้นจะมีราคาเท่าไร (ซึ่งหาได้น้อยมาก) และอีกกลุ่มที่จะหันมาหาคุณเพราะพวกเขาไปหาสินค้าตัวนี้จากที่อื่นไม่เจอแล้ว หรือไม่การซื้อจากที่อื่นก็อาจมีราคาสูงกว่าที่คุณขาย

4. ทำให้ลูกค้าแน่ใจถึงความปลอดภัยของเว็บคุณ และเกิดความเชื่อใจในเว็บของคุณ

เมื่อมีการค้าขายเกิดขึ้น แพลตฟอร์มที่คุณใช้เพื่อการขายนั้นจะต้องอยู่ในระดับที่ลูกค้าของคุณจะสามารถเชื่อใจ และวางใจในความปลอดภัยได้ แพลตฟอร์มที่ดีจะต้องมีการเชื่อมต่อกับระบบการจ่ายเงินที่มีมาตรฐานอย่าง Skrill, PayPal, WorldPay หรือระบบของธนาคารต่างๆ โดยตรง ซึ่งการที่ให้ลูกค้าของคุณโอนเงินจากข้างนอกมาโดยที่ไม่มีระบบการเงินเชื่อมไว้ก็ทำได้แต่คุณจะไม่สามารถขายของได้ในจำนวนมากๆอย่างสบายๆได้ และลูกค้าก็จะมองว่าแบรนด์ของคุณนั้นไม่มืออาชีพด้วย

 

5. ทำระบบในเว็บไซต์ให้ง่ายต่อการซื้อ

เมื่อลูกค้าทำการซื้อ ระบบภายในจะต้องทำให้ง่ายและตรงไปตรงมาที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ หรือถ้าคุณจะมีการ upsell ก็ควรแยกมันออกจากการขายปกติ หรือไม่ก็ลงไว้ก่อนที่จะให้ขั้นตอนการจ่ายเงิน ยกตัวอย่างในเว็บของ Agoda ที่ให้ข้อเสนอลูกค้าได้อัพเกรดห้องในราคาพิเศษก่อนจะถึงขั้นตอนการจ่ายเงิน ซึ่งวิธีนี้ได้ผลเพราะ Agoda นั้นมีระบบการซื้อที่ง่ายมาก ให้ลูกค้าได้ตัดสินใจไปทีละขั้นตอนว่าจะตกลงหรือปฏิเสธ และวิธีที่เขาใช้ก็ตรงไปตรงมา และไม่สร้างความรำคาญให้ลูกค้าอีกด้วย

6. ใส่ใจในคุณภาพของบริการหลังการขาย

ขั้นตอนนี้หมายความรวมถึงเป็นการกล่าวขอบคุณทิ้งท้ายหลังการซื้อของลูกค้า คุณต้องทำทุกอย่างเพื่อให้แน่ใจได้ว่าลูกค้าจะไม่มีอะไรมาติเตียนทีหลังได้ ระบบการขนส่งสินค้า และบริการทุกอย่างที่คุณบอกไว้ว่าจะมีให้ก็ควรแจ้งไว้ให้ชัดเจน ถ้ามีข้อผิดพลาดใดที่คุณทำไม่ได้ (ท้ังๆ ที่บอกไว้ว่าจะทำ) ก็ควรติดต่อกับลูกค้าและอธิบายถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหรือเหตุผลนั้น และถ้าเป็นไปได้ก็อาจให้สิ่งของกำนัลหรือการขดเขยบางอย่างให้กับข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น เพราะมันจะทำให้กู้ชื่อเสียงของคุณและความไว้วางใจของลูกค้าให้กลับมาได้ ทั้งหมดนี้ถ้าคุณให้ลูกค้าเป็นที่หนึ่ง คุณก็จะได้รางวัลที่ดีงามกลับคืนมาเช่นกัน

Credit: http://ecommerce-platforms.com/articles/selling-online-site-important-product


Ketshopweb | เว็บสำเร็จรูปอย่างง่ายที่ใครๆก็ทำได้

www.ketshopweb.com

เรายินดีให้คำปรึกษาการทำเว็บไซต์ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

ติดต่อมาที่ 094-436-2002 , email : sales@ketshopweb.com

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here