Mobile vs. Desktop ในโลกอนาคต

0
4485

จากที่เราทุกคนเห็นและสามารถคาดเดาได้ว่าในโลกอนาคตจะมีการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่แนวโน้มของการใช้โทรศัพท์มือถือในการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างจริงจัง คนรุ่นใหม่มีการท่องโลกอินเทอร์เน็ตจากในโทรศัพท์มือถือมากกว่าหน้าจอคอมพิวเตอร์ถึง 3 เท่า จึงไม่แปลกใจเลยเพราะในปัจจุบันก็มีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อโทรศัพท์มือถือกันอย่างร้อนแรง

1. เลิกใช้งานจากหน้าจอคอมพิวเตอร์

อ้างอิงจาก comScore การใช้งานอินเทอร์เน็ตจากหน้าจอคอมพิวเตอร์นั้นมีเปอร์เซ็นต์ที่ต่ำลงๆ ในแต่ละปี เช่น ในช่วงเดือนธันวาคม 2015 มีการใช้งานจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ลดลง 9.5% เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2014 และแนวโน้มที่ต่ำลงนี้ก็มีมากขึ้นเรื่อยมาจนถึงปี 2016

ซึ่งในปี 2016 กลับมีการใช้งานจากโทรศัพท์มือถือเป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับการใช้งานจากหน้าจอคอมฯ ถึงแม้ comScore จะพบว่า 1 ใน 5 ของคนยุคใหม่จะไม่ใช้งานจากหน้าจอคอมฯ เลย แต่ก็ยังมีรายงานว่าส่วนมากคนยุคใหม่จะไม่ใช้โทรศัพท์มือถือเป็นอุปกรณ์เพียงอย่างเดียว แต่เป็น multi-platform users แทน ซึ่งนั่นก็หมายความว่า ไม่ใช่ว่าการใช้งานจากหน้าจอคอมฯ จะหายไปหมดเสียทีเดียว แต่ก็ยังการใช้คอมฯ อยู่บ้างในคนยุคใหม่ส่วนใหญ่

2. พฤติกรรมการใช้งานของคนยุคใหม่

ถึงแม้ว่าโทรศัพท์มือถือจะเป็นช่องทางที่ถูกให้ความสนใจมากที่สุดในโลกออนไลน์ แต่เมื่อมีการใช้งานบนหน้าจอคอมฯ​ คนยุคใหม่ก็มีการใช้เวลาไปกับการท่องในแต่ละเว็บไซต์มากกว่าการดูบนโทรศัพท์ ซึ่งนี่ก็เป็นข้อมูลที่สะท้อนให้เห็นว่าการใช้งานบนคอมฯ ก็สามารถทำให้เกิดประโยชน์ได้สำหรับการลงโฆษณาต่างๆ แต่ถึงอย่างไรคำทำนายก็บอกไว้ว่ามันอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงในอีกสองปีเช่นกัน

3. Mobile-first แต่ไม่ใช่ mobile-only

ช่วงปลายปี 2013 แสดงให้เห็นว่ามีการใช้งานจากโทรศัพท์มือถือเติบโตขึ้นถึง 75% โดยเฉพาะการใช้งาน Facebook ซึ่งคนยุคใหม่ (อายุเฉลี่ย 18-25 ปี) อยู่ในยุคของ mobile-first

แต่ถึงจะเป็น mobile-first แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะเป็น mobile-only ในบางเคส เวลาที่พวกเขาดูวิดิโอหรือเวลาเล่นเกมออนไลน์ พวกเขาก็ยังต้องใช้จากคอมพิวเตอร์มากกว่าอยู่ดี ซึ่งผู้ประกอบการก็ไม่ควรมองข้ามการโฆษณาหรือทำการตลาดบนหน้าจอคอมฯเช่นกัน

สรุปคือถึงแม้ว่าการใช้งานจากโทรศัพท์มือถือจะมาแรงมากในอนาคต แต่ก็ยังไม่อาจทดแทนการใช้งานจากหน้าจอคอมฯได้ทุกอย่าง ผู้ประกอบการที่ลงทุนไปกับการสร้างแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือเองก็ควรโฟกัสไปที่ traffic ของผู้ใช้งานที่ดาวน์โหลดแอพฯ ด้วยเช่นกัน

4. ศึกษารูปแบบโฉษณาที่คนยุคใหม่ชอบ

ไม่ว่าผู้ใช้จะกำลังใช้แพลตฟอร์มไหนในการดูเนื้อหาของเราอยู่ เหล่าผู้ประกอบการก็ควรโฟกัสในสิ่งที่ควรหรือไม่ควรปรากฎไว้ให้คนยุคใหม่รับ ซึ่งจากการรีเสิร์ชก็พบว่าการใช้ video content นั้นสามารถสร้าง engagement กับคนยุคใหม่ได้อย่างดี ซึ่งผู้ประกอบการก็ควรจะให้ความสนใจต่อการแข่งขันในรูปแบบของวิดิโอด้วย การติดตามพฤติกรรมของผู้บริโภคและนำข้อมูลที่เป็นจริงมาประเมินก็จะทำให้ตัดสินใจได้ว่าวิดิโอรูปแบบใดที่พวกเขาชอบและสามารถดึงดูดพวกเขาได้

การทำสื่อในรูปแบบของวิดิโอมีความละเอียดที่ต้องใส่ใจมากขึ้นเมื่อเทียบกับโฆษณาทั่วไป เช่น เมื่อเป็นภาพเคลื่อนไหว ความยาวก็มีส่วนอย่างมากในการรับรู้ของผู้บริโภค เหล่าคนยุคใหม่มักจะชอบโฆษณาที่สั้นๆ (10 วินาทีหรือน้อยกว่านั้น) และโฆษณาที่พยายามที่จะใส่ข้อมูลมากเกินไปภายในไม่กี่วินาทีก็อาจก่อให้เกิดความสับสน หรือทำให้เกิดการเข้าใจผิดได้ ดังนั้นในยุคใหม่นี้ การทำวิดิโอภายใน 30 วินาทีนั้นสามารถเป็นความยาวที่เหมาะสมในการสื่อข้อมูลที่ยากขึ้นหรือใส่ข้อมูลจำนวนมากได้

5. ผู้บริโภคเลือกในการเสพสื่อมากขึ้น

คนยุคใหม่ไม่ค่อยหลงกลกับ clickbait แล้ว ซึ่งพอกาลเวลาผ่านไปมากขึ้นๆ ระดับการรับรู้ของผู้ใช้งานก็ยิ่งสูงขึ้นเช่นเดียวกับความคาดหวัง ผู้บริโภคจะมีการเสพสื่ออย่าง “เลือก” มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบ คอนเทนท์ รูปภาพ หรือหัวข้อ ซึ่งคุณภาพนั้นสำคัญมากไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใด ดังนั้นผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญกับการลงรายละเอียดเล็กๆเหล่านี้ให้ดี

ถึงแม้ว่าการใช้งานจากโทรศัพท์มือถือจะเป็นผู้นำในโลกอนาคต แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าการใช้งานจากหน้าจอคอมฯ จะถึงทางตัน ทั้งสองส่วนนี้ยังเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในโลกธุรกิจ และยังคงเป็นแบบนี้ต่อไป เทคโนโลยียังคงค่อยๆพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ เช่นเดียวกับผู้บริโภคในยุคใหม่ก็ยังคงปรับตัวและก้าวทันกับสิ่งเหล่านั้น ผู้ประกอบการก็ควรต้องคอยจับตาดู สังเกตพฤติกรรมบนโลกออนไลน์ของผู้บริโภคต่อไป ว่าจะตอบสนองต่อแพลตฟอร์มทั้งสองแบบนี้อย่างไร

Credit: http://www.imediaconnection.com


 

Ketshopweb | เว็บสำเร็จรูปอย่างง่ายที่ใครๆก็ทำได้

www.ketshopweb.com

เรายินดีให้คำปรึกษาการทำเว็บไซต์ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

ติดต่อมาที่ 094-436-2002 , email : sales@ketshopweb.com

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here