10 แบรนด์สายแฟชั่น กับเทคนิคการสร้างอีคอมเมิร์สที่คุณยืมไปใช้ได้ #1

0
7659

ร้านค้าแฟชั่นออนไลน์นั้นมีอยู่แทบจะทุกพื้นที่ของทั้งโซเชียลมีเดียและกูเกิ้ลเมื่อเสิร์ชหา แต่จะมีสักกี่แบรนด์ที่ทำออกมาได้เป็นที่จดจำและประสบความสำเร็จ ทั้งหมดนี้เราพูดถึงคุณสมบัติที่ดีที่การทำธุรกิจออนไลน์ควรมี เช่น ดีไซน์ที่เข้าใจง่าย UX ที่ดีเยี่ยม และสินค้าที่สร้างสรรค์ ซึ่งเวลาที่คุณเข้าไปช้อปปิ้งในร้านค้า เลือกสินค้า และยืนตัดสินใจอยู่นั้น คุณก็จะได้เจอกับพนักงานที่คอยช่วยให้คำปรึกษาได้อยู่ตลอดเวลา แต่ในโลกออนไลน์นั้นแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง 90% ของผู้ที่เข้ามาก็อยากเห็นการออกแบบที่สวยงามประกอบกับสินค้าสุดเจ๋ง ฟอนท์อ่านง่ายสบายตาที่เข้ากับดีไซน์ภาพรวม และส่วนประกอบอื่นๆ ที่ส่งเสริมกัน

เว็บไซต์สุดอเมซิ่งที่เรานำมาเสนอนั้นมีวิธีการใช้กลยุทธ์ที่แตกต่างหลากหลายที่คุณสามารถยืมไปใช้บ้างได้ ไม่ว่าจะเป็น newsletter, shopping cart หรือ landing page ของพวกเขา และพวกเขาก็ไม่ได้มาไกลถึงขนาดนี้ได้เพราะแค่โอกาส แต่พวกเขาได้ผ่านการเทส ผ่านการทดลองมาอย่างสาหัส และใช้หลายทาง หลายวิธีจนกว่าจะเกิดเป็นสูตรสุดท้ายที่ได้ผลมากที่สุด ดังนั้นขอให้ทุกท่านเลือกให้เหมาะสมกับแบรนด์ของตัวเรา

1. Dannijo
เว็บของแบรนด์นี้มีหน้าสินค้าที่ค่อนข้างเรียบง่าย ถึงแม้ว่ามันจะโชว์รายละเอียดสินค้าที่เยอะและมีสินค้าใกล้เคียงเยอะมากก็ตาม

2. Fashion Bunker

ร้านค้าสัญชาติออสเตรเลียที่มีการรวมตัวของแบรนด์สุดสร้างสรรค์และยอดฮิตจากหลายที่มาไว้ในที่เดียว ดีไซน์โดยรวมนั้นสะอาด เรียบง่าย และประกอบกับออฟชั่นสีให้เลือก

3. 2020AVE

2020AVE ใช้พลังของ Polyvore ช่วยในการกระจายข้อมูล นอกจากนี้ยังมีการจัดการประกวดเพื่อชิงรางวัลจากทางแบรนด์ เป็นการให้ลูกค้าเข้ามาร่วมสนุกกัน และทำให้แบรนด์เป็นที่จดจำได้มากขึ้น พวกเขาจัดเรียงสินค้าเสื้อผ้าไว้เป็นคอลเลกชั่น  เช่นเดียวกับ Free People และร้านค้าเจ้าใหญ่ๆก็ทำแบบเดียวกัน ซึ่งมันทำให้ลูกค้าอยากคลิกดูมากขึ้น

4. Lavish Alice
แบรนด์ก็มีการออกแบบอย่างมินิมอลที่โฟกัสหนักๆ ไปที่ตัวภาพของสินค้ามากกว่าการใช้สคริปอลังการหรือส่วนประกอบอื่นๆให้วุ่นวาย มีการใช้ Product filter ที่ทำให้หาสินค้าได้ง่ายขึ้น เพราะไม่มีใครอยากคลิกผ่าน 5-6 หน้าเพื่อหาเสื้อผ้าที่ตัวเองต้องการ

5. Style Keepers
ฟีเจอร์ New Arrival ช่วยให้ลูกค้าเจอสินค้าใหม่ๆ คอลเลกชั่นใหม่ได้ในทันทีที่เข้ามา ลูกค้าที่กลับมาซื้อซ้ำก็ไม่ต้องเจอกันสินค้าเดิมๆ ให้กวนใจ นอกจากนี้เขายังมีปุ่ม Contact อยู่ด้านซ้ายให้ง่ายต่อการเข้าถึง ในขณะที่แยกกับปุ่มโซเชียลมีเดียต่างๆ ที่จะวางไว้ด้านขวา

6. Avenue 32
Avenue 32 เป็นร้านค้า high fashion ที่ใช้กลยุทธ์ในการให้ลูกค้าที่มีความสนใจในสินค้าจริงๆ ได้ Subscribe เพื่อให้ได้ newsletter ของพวกเขา

7. ThreadSence
Threadsence นั้นโฟกัสไปที่สินค้าสไตล์โบฮีเมี่ยน กลยุทธ์การใช้โซเชียลมีเดียของพวกเขาทำได้ดีมาก มีจำนวนไลค์ในเฟสบุคกว่า 100k และใน Instagram ก็มียอดผู้ติดตามกว่า 51.3k โดยพวกเขาโฟกัสไปที่ตลาดของลูกค้าที่ชื่นชอบสไตล์โบฮีเมี่ยนและความอินดี้ อีกทั้งพวกเขามีบล็อกและช่องทางอื่นๆด้วย เช่น เทศกาลดนตรี บทสัมภาษณ์เจ๋งๆ เพื่อรองรับสินค้าและสร้าง community ของตัวเอง

8. Eugenia Kim
แบรนด์นี้ก็มีหน้าสินค้าที่เรียบง่าย โชว์รายละเอียดสินค้าโดยที่ไม่มีปุ่มใดๆเพิ่มเข้ามา หรือแม้แต่การโฆษณา และการโชว์สินค้าใกล้เคียงกันที่ลูกค้ามักซื้อด้วยกัน พวกเขาก็มีการใช้ประโยคที่น่ารักขึ้น เช่น แทนที่จะเขียนตรงๆว่า ‘Customers also bought’ (ลูกค้ามักซื้อไปด้วย) พวกเขากลับเขียนว่า ‘ We love these too’ นอกจากนี้ ความใส่ใจอีกอย่างที่แบรนด์นี้มีคือ พวกเขามีหน้าพิเศษที่เรียกว่า ‘Storage and Care’ เพื่อลงทิปส์ หรือ Guideline ให้ลูกค้าเป็นวิธีดูแลสินค้าเสื้อผ้าที่ซื้อไปให้อยู่กับเราได้นานและดูดีอยู่เสมอ

9. Colette Malouf
ร้านนี้มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานกว่า 20 ปี ด้วยความชิคและดีไซน์ที่ดีงาม หน้า About มีการลงสิ่งที่น่าสนใจอย่าง why Colette decided to have her own business, what influenced her work and some of the stores selling her products. (ทำไม
Colette จึงตัดสินใจที่จะสร้างธุรกิจเป็นของตัวเอง อะไรเป็นแรงจูงใจของเธอ และทำไมร้านค้าต่างๆ ก็นำสินค้าของเธอไปขายเช่นกัน) เป็นประโยคยกขึ้นมาที่สร้างมูลค่าให้กับแบรนด์ บ่งบอกถึงความเป็นมา และทำให้แบรนด์เป็นที่จดจำได้มากขึ้น

10. Duke & Winston

แบรนด์ของคุณมีเรื่องราวที่มีเอกลักษณ์อยู่เบื้องหลังหรือไม่ คุณเริ่มสร้างอีคอมเมิร์สขึ้นมาเพื่อเหตุผลอะไรบางอย่างที่เฉพาะเจาะจงหรือม่… ในหน้า About ของDuke & Winston ได้ทำมันออกมาอย่างตลกและมีสีสันด้วยคำบอกเล่า “After a few months and several dozen shirts sold, Seun abruptly quit his IT job expecting to be the next Ralph Lauren overnight…. This did not happen.” (หลังจากไม่กี่เดือนที่เสื้อได้อยู่ขายไปเป็นโหล Seun ก็ได้ลาออกจากงานด้านไอทีของเขาอย่างกะทันหัน ด้วยความหวังว่าจะได้เป็น Ralph Lauren คนต่อไปภายในชั่วข้ามคืน… แต่มันก็ไม่ได้เกิดขึ้น) ฮ่าๆๆ สร้างสีสันให้แก่ผู้บริโภคและบอกตัวตนของแบรนด์ผ่านตัวตนของผู้ก่อตั้ง

http://ecommerce-platforms.com/ecommerce-websites/independent-fashion-stores,
http://www.freepik.com/


Ketshopweb | เว็บสำเร็จรูปอย่างง่ายที่ใครๆก็ทำได้

www.ketshopweb.com

เรายินดีให้คำปรึกษาการทำเว็บไซต์ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

ติดต่อมาที่ 094-436-2002 , email : sales@ketshopweb.com

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here