Checklist การสร้างอีคอมเมิร์สให้ปัง! ในยุค 2017 #5

0
6677

ตอนที่ 5 แล้ว กับไกด์การสร้างอีคอมเมิร์สในยุค 2017
ใครที่เพิ่งเข้ามาอ่าน สามารถติดตามตอนก่อนหน้านี้ได้ที่
ตอนที่ 1: https://wp.me/p7ClQR-m8
ตอนที่ 2: https://wp.me/p7ClQR-md
ตอนที่ 3: https://wp.me/p7ClQR-mh
อนที่ 4: https://wp.me/p7ClQR-ml

เรามาต่อกันเลยค่ะ

14. ติดตาม ถามฟีดแบค

การติดตามผลหลังการซื้อสินค้าก็เหมือนกับการบริการหลังการขายในร้านค้า ซึ่งยิ่งถ้าคุณทำอีคอมเมิร์ส ยิ่งต้องมีการบริการหลังการขายที่ดีเยี่ยม เพราะคุณจะไม่ได้เจอกับลูกค้าต่อหน้า ซึ่งลูกค้ากว่า 90% จะตัดสินใจโดยอิงจากสิ่งที่พวกเขาอ่านในการรีวิวของลูกค้าคนอื่น

ตัวเลขสถิตินี้ส่งผลต่อทั้งเว็บของคุณ คุณต้องมีรีวิวเชิงบวกในเว็บ และต้องเช็คด้วยว่าลูกค้าแต่ละคนนั้นพูดถึงสินค้าและแบรนด์ของคุณอย่างไรทั้งในบล็อกและในกระทู้ต่างๆ พวกเขาพึงพอใจกับการซื้อและบริการไหม ถ้าไม่ ก็ควรติดต่อพวกเขาไปและดูว่าคุณจะสามารถช่วยอะไรได้บ้างเพื่อเปลี่ยนแปลงความรู้สึกของเขา คุณต้องจำไว้ว่าผู้คนใช้กูเกิ้ลในการหาเว็บของคุณ และพวกเขาก็จะใช้มันในการหาแบคกราว หรือประวัติของคุณก่อนซื้อสินค้าเช่นกัน

นอกจากนี้การรีวิวยังช่วยพัฒนาระดับ SEO ของคุณให้ดีขึ้น สดใหม่ขึ้นเช่นกัน อีกทั้งคอนเทนท์ที่ดียังช่วยยกระดับและพาลูกค้าคนใหม่ๆ เข้ามาด้วย

Expedia ใช้ Feefo ในการแสดงการรีวิวของลูกค้า กลยุทธ์การใช้ outsource เป็นแพลตฟอร์มด้านรีวิวก็จะทำให้ผู้ใช้มีโอกาสที่จะได้ทวีตหรือแชร์ลงไปในเฟสบุคของพวกเขาได้ด้วย

GraceShip และ Just Bedding ก็มีปุ่ม feedback ไว้ให้เห็นได้ทุกเมื่อเวลาที่คุณเลื่อนเมาส์ขึ้นลง

Just Bedding ใช้ Usabilla เป็นเครื่องมือที่จะทำให้ผู้เข้าชมสามารถแชร์ฟีดแบกของพวกเขาในด้านสินค้าหรืออื่นๆได้

ยกตัวอย่าง GraceShip

มีการสร้างรีวิวไว้ให้เวลาที่คุณคลิกที่แท็บ Testimonials ที่วางไว้ตรงด้านซ้าย ง่ายที่จะค้นเจอ

ยกตัวอย่าง Aplliances Online

ที่มีวิธีการใช้ที่ยังไม่ค่อยเวิร์คนัก เพราะเขามีรีวิวสินค้าเป็นร้อยๆชิ้น แต่ไม่มีอันที่เป็นจุดขาย พวกเขาควรทำให้ชิ้นใดชิ้นหนึ่งแข็งแรงที่สุดและสามารถเป็นจุดขายได้ อีกทั้งพวกเขายังวางมันไว้ที่ footer ที่ที่ไม่ค่อยมีใครเห็น ยกเว้นแต่ว่าพวกเขาจะเลื่อนลงมาดูตรง contact หรือ FAQ จึงจะเห็น

แล้วรีวิวด้านลบที่แย่ๆ ล่ะ

ไม่ต้องกลัวรีวิวด้านลบๆ เพราะลูกค้ามักต้องเจอกับรีวิวเชิงลบและบวกเป็นปกติอยู่แล้ว ไม่ว่าสินค้าหรือบริการของคุณจะเจ๋งแค่ไหนก็ต้องมีคอมเมนท์เชิงลบปะปนอยู่แล้ว ซึ่งถ้ามีคนค้นหารีวิวแย่ๆ ก็อาจหมายความว่าเขาตัดสินใจซื้อแล้ว แต่ยังอยากเห็นด้านลบของสินค้าบ้าง

สถิติของการรีวิวของลูกค้า

73% ของลูกค้าจะเชื่อในแบรนด์หลังจากได้อ่านรีวิวด้านบวก

67% ของลูกค้าบอกว่าพวกเขาจะอ่านไปจนถึงรีวิวที่ 6 จนกว่าพวกเขาจะมั่นใจว่าสามารถเชื่อแบรนด์นี้ได้

68% ของลูกค้าแนะนำให้ธุรกิจทั่วไปมีการรีวิวสินค้าหรือบริการถ้าพวกเขามีรีวิวจากมืออาชีพและน่าเชื่อถืออยู่ เพราะมันจะทำให้ลูกค้ามาซื้อสินค้าได้สูงถึง 63% และการลงรีวิวของลูกค้าก็จะช่วยกระตุ้นยอดขายสูงขึ้นได้ถึง 18%

15. คิดใหม่ดูอีกครั้ง กับกลยุทธ์การส่ง newsletter

ในปี 2013 การขายออนไลน์โดยใช้อีเมลนั้นได้ผลถึง 2.53% แต่ในขณะที่ social networks เกือบแตะได้ถึงแค่ 0.22% และ email ROI โดยประมาณอยู่ที่ 4,300%! เป็นตัวเลขที่ไม่น่าเชื่อเลยใช่ไหม เพราะถึงแม้ว่าผู้คนจะรำคาญเวลาที่เปิดอีเมลขึ้นมาแล้วต้องเจอกับการที่อินบ็อกซ์นั้นเต็มไปด้วย newsletter แต่พวกเขาก็ยังจบลงด้วยการเช็คอีเมลเหล่านั้น แล้วซื้ออะไรบางอย่างอยู่เสมอ

ลองดูวิธีการเหล่านี้ แล้วดูว่าคุณจะสามารถกระตุ้นผู้เข้าชมให้ลงทะเบียนสำหรับดีลพิเศษของคุณได้อย่างไรบ้าง

ยกตัวอย่าง Lookmatic, ACK Surf และ Little Joe Woman

สามแบรนด์นี้ต้อนรับคุณด้วย newsletter ที่ป้อบอัพขึ้นมาทันทีที่คุณเข้าไปยังเว็บไซต์ของพวกเขา ถึงมันจะง่ายที่จะปิดทิ้ง แต่มันก็มีให้เห็นสำหรับลูกค้าที่อยากได้ข้อเสนอดีๆ หรือโปรโมชั่นสินค้าใหม่ๆ แล้วกระตุ้นพวกเขาด้วยประโยคเชิญชวนเจ๋งๆ หรือบอกเป็น hint ให้ว่าพวกเขาจะได้พบกับอะไรในอีเมลที่เรากำลังจะส่งให้… ทำให้ลูกค้าตัดสินใจลงทะเบียนอีเมลกับคุณ

ยกตัวอย่าง Design by Humans และ Prinnnt

ยื่อข้อเสนอให้ส่วนลดหรือ incentive ในการลงทะเบียนอีเมลกับทางเว็บ อันแรกคือส่วนลด 20% ในการซื้อครั้งต่อไป Prinnnt เองก็ให้ส่วนลด 10% สำหรับลูกค้าที่กดไลค์สื่อโซเชียลอันใดอันหนึ่งของพวกเขา มันง่าย และลูกค้าก็ไม่รู้สึกถูกบังคับให้ทำด้วย

Be creative

ยกตัวอย่าง Cultivated Wit

มีการใช้ประโยคล้อเลียนอย่างสร้างสรรค์และไม่อ้อมค้อม ด้วยการเชิญชวนให้ลงทะเบียนจากทางด้านล่างของเว็บ เมื่อคุณเลื่อนลงมาจะเห็นประโยคที่บอกไว้เด่นชัดเป็นพื้นที่สำหรับการลงทะเบียนว่า “Receive our propaganda” และด้านซ้ายก็มีปุ่มที่เป็นโซเชียลเน็ตเวิร์คให้กด และมีประโยค “Monitor our private lives.” ที่บ่งบอกได้ถึงความ creative ของแบรนด์

16. ทำให้ลูกค้าเชื่อใจด้านความปลอดภัยของเว็บคุณ

“Secure shopping-cart systems are essential for maintaining the integrity of the payment process” Ella Nevill

ข้อมูลทางออนไลน์นั้น sensitive มาก และจะมากขึ้นอีกเมื่อลูกค้าได้เดินทางมาถึงขั้นตอนหลังๆ ก่อนจะจ่ายเงิน นั่นจึงเป็นสาเหตุว่าทำไมคุณต้องทำเว็บไซต์ให้ดีและทำให้ลูกค้ารู้สึกได้ถึงความปลอดภัยเมื่อต้องทำการซื้อ

เมื่อก่อนอาจทำให้ยากและลงทุนมหาศาลกับการที่จะต้องมีระบบที่ดีและปลอดภัยรองรับ แต่ไม่ใช่กับยุค 2017 อีกต่อไป สิ่งที่คุณต้องทำเพื่อลดความเสี่ยงที่ลูกค้าจะไม่เชื่อใจ ก็เพียงแค่

เลือกแพลตฟอร์มที่ปลอดภัย

ใช้ SSL authentication ที่แข็งแรง

track ทุกๆการสั่งซื้อได้

มีการถามหา strong password

มีการรัน PCI tests

ในด้านใช้โซเชียลมีเดียนั้น สำหรับการทำธุรกิจอีคอมเมิร์สคุณควรมีกลยุทธ์สำหรับระยะสั้นและระยะยาว เพื่อให้โซเชียลเน็เวิร์คของคุณยังคงความฮิตอยู่เรื่อยๆ อย่าง Pinterest กับ Instagram อาจไม่เหมาะสมสำหรับทุกสินค้าเสมอไป แต่กับเจ้าใหญ่อย่าง Twitter และ Facebook เป็นสิ่งที่ต้องมีอยู่แล้ว ถ้าคุณมีบัญชีกับสื่อเหล่านี้อยู่แล้ว ก็เพียงแค่ทำโปรไฟล์ให้ดี และคอยอัพเดทให้ active อยู่เสมอให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

และอย่างไรก็ตาม ไม่ควรพยายามที่จะขายของมากเกินไป ผู้คนอยากจะรู้เรื่องราวหลังแบรนด์เช่นกัน ดังนั้นการให้ความรู้ หรือการเล่าเรื่องราว หรือสถิติต่างๆ เกี่ยวกับตลาดที่คุณทำอยู่ก็น่าสนใจ หรือจะเป็นการใช้ หรือสไตล์การใช้สินค้าของคุณก็เป็นประเด็นที่ดีในการที่จะลงอัพเดทเช่นกัน

ยกตัวอย่าง Amazon

ในเว็บจะมีปุ่มโซเชียลสำหรับทุกหน้าสินค้าตรงด้านมุมบนขวา แน่นอนว่าพวกเขาย่อมมีผู้เชี่ยวชาญด้าน SEO เพื่อค้นหากลยุทธ์ที่ดีที่สุดเพื่อนำมาใช้อยู่แล้ว ดังนั้นคุณสามารถทดลองใช้มันแล้วดูว่ามันทำงานอย่างไรก็ได้

ยกตัวอย่าง Lookmatic

ก็มีการใช้ปุ่มโซเชียลอย่างเด่นชัดใกล้กับสินค้าเพื่อให้ลูกค้าสามารถมองเห็นปุ่มเหล่านั้นได้มากขึ้น layout ของทั้งเพจนั้นเรียบง่ายและทำให้แว่นตาที่เป็นสินค้านั้นเด่นที่สุด และมีการลงรายละเอียดน้อยๆเพื่อไม่ให้รบกวนสายตา

ยกตัวอย่าง Dannijo

แบรนด์ jewelery สุดฮิตที่มีการใช้เซเลบริตี้มาช่วยในการขายไม่ปีก่อนๆและก็ยังคงความฮิตต่อเนื่อง พวกเขามีการใช้เทคนิคการขายกับ Instagram อีกด้วย โดยพื้นฐานแล้วเขาจะใช้ Instagram เพื่อเป็นพื้นที่โชว์เคสสินค้าแต่ละตัว และเมื่อคุณกดเข้าไปที่สินค้าตัวนั้น ก็จะพบกับ “Shop this look” เป็นป้อปอัพขึ้นมา มันได้ช่วยการขายเพราะลูกค้าจะได้เห็นรูปจริงว่าในชีวิตจริงเมื่อถูกใส่เครื่องประดับชิ้นนี้จะเป็นอย่างไร

37% ของลูกค้าแนะนำให้ทำธุรกิจกับเฟสบุค สูงขึ้นจากปี 2012 32% ลูกค้าอยู่ดูวิดีโอ 2 นาทีและ 64% ของพวกเขาก็อยากจะซื้อสินค้านั้น

Facebook, Vimeo และ Youtube เป็น converting platforms ที่สูงที่สุด

30% ของผู้ใช้ทวิตเตอร์มีการเตรียมพร้อมสำหรับการช้อปปิ้งในช่วงวันหยุด

71% ของนักช้อปปิ้งออนไลน์จะซื้อสินค้าโดยอิงจากคำแนะนำในโซเชียลมีเดีย

48% ของลูกค้ามีการไลค์แบรนด์บนเฟสบุคเพราะพวกเขาต้องการผลประโยชน์จากส่วนลดหรือโปรโมชั่นต่างๆจากแบรนด์

Credit: http://ecommerce-platforms.com/ecommerce-selling-advice/ultimate-epic-guide-successful-online-shop#photos
Picture credit: http://freepik.com/


Ketshopweb | เว็บสำเร็จรูปอย่างง่ายที่ใครๆก็ทำได้

www.ketshopweb.com

เรายินดีให้คำปรึกษาการทำเว็บไซต์ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

ติดต่อมาที่ 094-436-2002 , email : sales@ketshopweb.com

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here